https://www.facebook.com/pmatHRsociety https://twitter.com/pmathrsociety https://www.youtube.com/user/PMATVideos http://line.me/ti/p/@pmat
เชื่อมการสื่อสารภายในองค์กร ยุค Work form Anywhere ด้วย HR BOTS
กลับš


Highlight

- COVID 19 เป็นปัจจัยเร่งให้ digital tools ถูกยอมรับโดยผู้ใช้ อย่างรวดเร็วในเวลาเพียง 8 สัปดาห์
- หลายองค์กร ใช้ Digital business tools เพื่อกำจัดการสื่อสารที่ผิดพลาดและความไร้ประสิทธิภาพภายในองค์กร
- Bots ไม่ได้ "ขโมย" งานของมนุษย์ แต่รับหน้าที่ที่มนุษย์ไม่ชอบทำ และทำให้มนุษย์สามารถใช้เวลาทำงานเชิงกลยุทธ์ได้มากขึ้น
- Bots อัจฉริยะมีความแม่นยำ รวดเร็ว และมีต้นทุนต่ำกว่ามาก เมื่อเทียบกับผลลัพธ์ทางธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต
- Bots จะทำให้พนักงานทุกคนจะได้รับการช่วยเหลือที่ชาญฉลาดตลอดเวลา
- การต่อต้านการใช้เทคโนโลยีเกิดขึ้นได้ จึงควรมีแนวทางให้พนักงานเปิดใจทดลองใช้เทคโนโลยี เช่น การให้รางวัล และ การรับฟังปัญหาของผู้ใช้เพื่อนำไปปรับปรุง

ในช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19 มีการใช้เครื่องมือดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นในทุกอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึง ระบบการจัดการการเรียนรู้ (LMS), ระบบ IoT (Internet of Things) และแพลตฟอร์มการจัดการที่ใช้เทคโนโลยีอื่น ๆ แม้ว่าบริการเหล่านี้จะมีหลากหลายรูปแบบ แต่ก็มีจุดประสงค์ร่วมกัน เพื่อทำให้การดำเนินธุรกิจสะดวกยิ่งขึ้น

แม้ว่าเครื่องมือดิจิทัลจะถูกนำมาใช้เป็นเวลาหลายปีแล้ว แต่ผลจากมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing measures) และการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานไปสู่การทำงานระยะไกล ทำให้ความนิยมในการใช้ digital tools เพิ่มมากยิ่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

McKinsey รายงานว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เราก้าวกระโดดไปข้างหน้าถึง 5 ปีในเรื่องการดำเนินการทางธุรกิจและสามารถทำให้ผู้บริโภคเกิดการยอมรับการใช้ digital tools ได้ในเวลาเพียง 8 สัปดาห์เนื่องจากสถานการณ์รอบตัวที่ต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว

Digital business tools ถูกนำไปใช้ทั้งภายนอกองค์กรเพื่อช่วยให้องค์กรโต้ตอบกับลูกค้าและผู้ซื้อ และถูกใช้ภายในองค์กรเพื่อประสานการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ ระบบจ่ายเงินเดือนอัตโนมัติ แอปพลิเคชั่นการชำระเงินคืน (reimbursement apps) รวมไปถึง HR Chatbots และอื่น ๆ โดย Digital business tools เหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อกำจัดการสื่อสารที่ผิดพลาดและความไร้ประสิทธิภาพภายในองค์กร โดยการใช้ HR chatbots และแพลตฟอร์มการสื่อสารภายใน กลายเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ช่วยเติมเต็มช่องว่างข้อมูลที่เกิดจากการย้ายไปทำงานระยะไกล เทคโนโลยีเหล่านี้มีความคุ้มค่าต่อการลงทุนเพื่อการดำเนินธุรกิจในวันนี้และยังรวมถึงการให้ผลลัพธ์ความสำเร็จในอนาคต

ธุรกิจต่างๆต้องเปลี่ยนมาใช้ Covid-19’s New Normal


Shelly Singh ผู้ร่วมก่อตั้ง PeopleStrong อธิบายว่า “Hierarchy กำลังสลายไปและวัฒนธรรมในสที่ทำงานกำลังเปลี่ยนไป” ธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน ผู้นำที่ดื้อรั้นก่อนหน้านี้ได้ตื่นตัวกับประโยชน์ของการประชุมเสมือนจริง (virtual conferences) , Augmented Reality (AR) และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการขับเคลื่อนผลลัพธ์ทางธุรกิจ

ในความเป็นจริงการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ “ไม่ใช่ทางเลือก” อีกต่อไป แต่เป็น “สิ่งจำเป็น” เมื่อองค์กรที่ต้องการประสบความสำเร็จในวิถีโลกใหม่ ต้องการความรวดเร็วและคล่องตัว จึงไม่สามารถปฏิเสธการใช้เทคโนโลยีได้

เทคโนโลยีดิจิทัลได้สัมผัสกับทุกแง่มุมของธุรกิจตั้งแต่การดำเนินงานไปจนถึงกระบวนการเผชิญหน้ากับลูกค้า รวมถึง การจัดการทรัพยากรมนุษย์ หากต้องการใช้พนักงานมีความคล่องตัวในการทำงาน ธุรกิจจำเป็นต้องลดความล่าช้าและความไร้ประสิทธิภาพ ในหลาย ๆ กรณี โดยวิธีที่ดีที่สุดคือ “เปลี่ยนจากการใช้มนุษย์เป็นการใช้เทคโนโลยี”

ตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นการใช้เทคโนโลยีแทนมนุษย์ มีอยู่มากมาย อาทิเช่น ตัวอย่างแรก แทนที่จะอาศัยทีมงานเล็ก ๆ ที่ต้องทำงานอย่างหนักเกินไปเพื่อตรวจสอบการจดบันทึกและการทำเครื่องหมายความคลาดเคลื่อน บริษัทหลายแห่งใช้ optical character recognition (OCR) หรือ การอ่านอักขระด้วยแสง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้เพื่อ "รู้จำ" หรือ "อ่าน" ข้อความที่ปรากฏในไฟล์ภาพ ข้อความที่พิมพ์ด้วยมือ รวมถึงตัวอักษรที่ใช้มือเขียน ได้ด้วย
ตัวอย่างที่สอง การใช้ payroll tools ที่สามารถจัดการคืนเงิน ประเภท reimbursements ซึ่งบริษัทต้องจ่ายคืนให้พนักงานในส่วนที่พนักงานออกเงินของตัวเองไปก่อนแล้วมาเบิกจากบริษัทในภายหลัง กระบวนการนี้หากใช้แรงงานมนุษย์ต้องใช้เวลานาน แต่เทคโนโลยีใช้เวลาเพียงเสี้ยวนาที และทำได้โดยไม่มีความเครียดเมื่อเทียบกับการใช้คนจัดการ

นอกจากนี้เทคโนโลยี ยังช่วยให้ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์มีเวลามากขึ้นในการมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาพนักงานได้มากขึ้น โดยทำให้สามารถเอาใจใส่และใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อปัญหาอื่นๆที่เทคโนโลยีไม่สามารถแก้ไขได้ ปัจจุบันพบว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีมาใช้ เกิดขึ้นในทุกมิติของธุรกิจซึ่งได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจในแต่ละวันอย่างเห็นได้ชัด องค์กรต่างๆสามารถก้าวข้ามขอบเขตทางภูมิศาสตร์เขตเวลา และขีดจำกัดของมนุษย์ ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างแท้จริงด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม

บางคนแสดงความกังวลว่างานของพวกเขาจะถูก Bots หรือ ผู้ช่วยดิจิทัล "ขโมย" ไป แต่ความจริงแล้วเครื่องจักรส่วนใหญ่จะรับหน้าที่ที่มนุษย์ไม่ชอบทำ เครื่องจักรที่อยู่เบื้องหลังจะรับหน้าที่ดูแลงานที่ซ้ำซาก นั่นหมายถึงพนักงานย่อมมีเวลา และมีมีความสุขกับบทบาทที่สามารถใช้จินตนาการสร้างสรรค์และใช้เวลาไปกับงานเชิงกลยุทธ์เพื่อสนับสนุนองค์กรได้มากขึ้น


ความท้าทายในปัจจุบันที่ต้องเผชิญในที่ทำงาน


ธุรกิจจำนวนมาก และสถานที่ทำงานหลายแห่ง มีกระบวนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ล้าสมัยและยังคงหลงเหลือกระบวนการทำงานตามแบบการทำงานยุคดั้งเดิม ยังพบว่าคนทำงานต้องพึ่งพาผู้อื่นเพื่อให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นในการทำงาน แต่จะเกิดอะไรขึ้นหากคำถามของพวกเขาไม่ได้คำตอบเป็นระยะเวลานาน? เป็นที่ชัดเจนว่าฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ต้องการพัฒนากระบวนการทำงานให้สอดรับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงของโลกการทำงาน เราพบว่า
• 50% ของคำถามที่พนักงานสอบถามไป ยังคงไม่ได้รับคำตอบแม้จะผ่านไป 24 ชั่วโมงแล้วก็ตาม
• 30% ของงานที่พนักงานต้องทำให้สำเร็จ มักล่าช้าเนื่องจากการพึ่งพาผู้อื่น
• 20% ของเวลาในการผลิตของพนักงานใช้ไปกับการประสานงานหรือจัดการธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

สิ่งเหล่านี้เป็นความไร้ประสิทธิภาพและความล่าช้าที่ บริษัท ต่างๆต้องการลบออกจากกระบวนการเพื่อให้เข้าใกล้การประสบความสำเร็จในยุคปัจจุบัน และนี่ไม่ใช่ความท้าทายเดียวที่พนักงานต้องเผชิญ พนักงานยังต้องเผชิญกับหลายสิ่ง ไม่ว่าจะเป็น

การดิ้นรนเพื่อจัดการความสมดุลในชีวิตการทำงาน work-life balance ได้กลายเป็นเรื่องยากอย่างมากหลังการแพร่ระบาดของ COVID 19 การทำงานจากที่บ้านช่วยให้พนักงานสามารถเข้าถึงเอกสารประกอบการทำงานได้ตลอดเวลาและเมื่อแง่มุมของการทำงานเข้ามาในชีวิตส่วนตัวก็อาจทำให้สับสนได้ หากต้องพยายามแยกมันออกจากกัน
ขอบเขตงานกำลังกว้างขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีการจัดการงานบางด้านโดยหุ่นยนต์, AI รวมถึง machine learning พนักงานอาจพบว่าขอบเขตงานและความรับผิดชอบของพวกเขาเปลี่ยนไปอย่างมาก พวกเขาอาจต้องทำงานใหม่ที่ไม่ได้อยู่ในขอบเขตงานเดิม

ตำแหน่งที่ตั้ง ช่องทางการสื่อสาร และเขตเวลา เป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหา เมื่อขอบเขตงานกว้างขึ้นพนักงานอาจพบว่าตัวเองได้สัมผัสกับผู้คนมากมาย พวกเขาอาจต้องติดต่อประสานงานกับแผนกในสถานที่อื่น ๆ และในหลายภาษา แม้ว่าการใช้เครื่องมือสื่อสารของ บริษัท เช่น Slack และ Basecamp จะเพิ่มขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของ COVID19 แต่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างรวดเร็วเหล่านี้มักดำเนินการโดยไม่มีการวางแผนล่วงหน้า และสามารถก่อให้เกิดไซโลระหว่างหน่วยงานและทีมได้ สิ่งนี้อาจนำไปสู่คำถามมากมายเช่น:
• ใครคือผู้รับผิดชอบหลักของโครงการนี้?
• เวลาใดที่ดีที่สุดในการกำหนดเวลาการประชุม?
• ใครมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ?
• ฉันจะหาเอกสารเหล่านี้ที่ต้องการได้ที่ไหน?
• ฉันควรจะสื่อสารกับใครสำหรับโครงการ A, B และ C?

สถานการณ์ที่สะท้อนปัญหาเรื่องการสื่อสาร ที่เห็นได้ชัด ก็คือ “แผนกหนึ่งอาจชอบใช้ Email อีกคนอาจใช้เอกสาร Word คนอื่น ๆ อาจสื่อสารผ่าน Whatsapp พนักงานพบว่าตัวเองกำลังต้องรับมือช่องทางการสื่อสารและแอปพลิเคชั่นจำนวนนับไม่ถ้วน และการเข้าถึงบางแฟลตฟอร์มยังถูกกีดกัน”

แม้แต่แง่มุมง่ายๆอย่างการสื่อสารใน บริษัท ก็ต้องมีการไตร่ตรองให้ดี การขาดความสม่ำเสมอในการสื่อสารภายในบริษัท จะทำให้เกิดความยุ่งยากสับสนและเกิดข้อผิดพลาดเนื่องจากพนักงานแย่งกันติดตามว่าข้อมูลทั้งหมดของพวกเขาอยู่ที่ใด

Aditya Birla Capital (ABC) เป็นตัวอย่างขององค์กรที่รับมือและป้องกันการปัญหาการสื่อสารภายในองค์กร โดยนำ chatbot มาใช้เพื่อช่วยจัดการพนักงาน 14,000 คนในสาขากว่า 600 แห่งทั่วอินเดียได้สำเร็จ ก่อนนั้น บริษัทต้องดิ้นรนกับข้อความที่ไม่ได้รับและคำถามที่ยังไม่ได้รับคำตอบเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆเช่น การลางาน สวัสดิการพนักงาน อันดับแรกพวกเขา เริ่มต้นการออกแบบ Chatbot จากข้อมูลในช่วงห้าปีที่ผ่านมา พวกเขายังแบ่งปันข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับนโยบายภายในของบริษัทผ่าน Chatbot การใช้งาน Chatbot ช่วยให้ ABC ลดการสืบค้นจาก 1,000 คำค้นหาต่อเดือนเหลือเพียง 200 คำค้นหาต่อเดือน


ประเภทของ Bots ที่ถูกนำมาใช้ในสถานที่ทำงาน


Bots เป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดและพร้อมใช้งานเพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิดระหว่างมนุษย์ ที่มากไปกว่านั้น Bots ต่างจากนักทรัพยากรมนุษย์ ตรงที่พร้อมให้บริการตลอดเวลาและไม่ต้องจัดการหรือลดคิวในการให้บริการพนักงาน นั่นหมายความว่าพวกเขาสามารถให้ “ความเอาใจใส่” อย่างเต็มที่กับพนักงานทุกคนที่ต้องการความช่วยเหลือ การแบ่งประเภทของ Bots ที่ถูกนำมาใช้สำหรับ enterprise organizations แบ่งได้ดังนี้

  • Dumb Bot จำกัดความสามารถอยู่ที่การส่งคำตอบที่ตั้งโปรแกรมไว้ล่วงหน้าไปยังผู้รับ โดยสามารถระบุคำหลักที่เฉพาะเจาะจงและตอบสนองด้วยการเลือกข้อความที่อาจจับคู่กับคำหลักนั้น ความท้าทายอย่างหนึ่งของ dumb bots คือ มันถูกจำกัด ความเข้าใจในการตอบสนองตามที่ original coder ตั้งไว้เท่านั้น หากผู้ใช้ใช้วลีที่ไม่รู้จักหรือถามเกี่ยวกับหัวข้อที่โปรแกรมเมอร์ไม่ได้กล่าวถึง Bots ก็จะไม่เป็นประโยชน์
  • Partially smart bot เป็น Bot อัจฉริยะบางส่วน จัดอยู่ในลักษณะเดียวกับ dumb bots เนื่องจากมีคลังความรู้ที่จำกัด bots เหล่านี้อาจใช้การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP) เพื่อวิเคราะห์สิ่งที่ผู้ใช้ถามจากนั้นจึงตอบกลับคำตอบที่เกี่ยวข้องมากที่สุด Bot ประเภทนี้สามารถเข้าใจคำถามแม้ว่าผู้ใช้จะใช้ไวยกรณ์หรือผิดเล็กน้อย อย่างไรก็ตามมันจะไม่สามารถ “connect the dots”และให้คำตอบที่ไม่ได้ระบุไว้ได้
  • Truly intelligent bot หรืออาจเรียกได้ว่า “Bot อัจฉริยะอย่างแท้จริง” Chatbot ที่ ABC นำมาใช้ใน บริษัท ของพวกเขาเป็นของ chatbot ประเภทนี้ Bot อัจฉริยะไม่ได้ใช้เพียงแค่ NLP เท่านั้น แต่ยังใช้ประโยชน์จาก data science , machine learning , AI และอินเทอร์เฟซสำหรับการสนทนา เทคโนโลยีเหล่านี้ทำให้ Truly intelligent bot เข้าใจบริบทของผู้ใช้อย่างแท้จริง โดยจะต่อยอดจากสิ่งที่ได้เรียนรู้และบันทึกไว้จากการสนทนาที่ผ่านมาเพื่อให้ได้คำตอบที่ดีที่สุดและสามารถตอบสนองหรือให้คำตอบแก่ผู้ใช้ได้อย่างราบรื่น Advanced intelligent bots หรือ “Bot อัจฉริยะขั้นสูง” คุณลักษณะการวิเคราะห์ข้อมูลในตัว ช่วยให้สามารถแสดงผลข้อมูลเชิงลึก เช่น สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประชากรศาสตร์ของพนักงาน รวมถึงวิเคราะห์ทักษะและความสามารถที่เกี่ยวข้องกับผลงานในอดีต ค่าตอบแทนปัจจุบันและอื่น ๆ


ประโยชน์ของ bots


bots อัจฉริยะมีความแม่นยำรวดเร็วและมีต้นทุนต่ำกว่ามาก เมื่อเปรียบเทียบกับค่าจ้างแรงงานมนุษย์ การติดตั้ง single bot สามารถทำงานแทน ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ทั้งทีมที่ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา และที่ดีที่สุดคือ Bots ไม่ต้องการสวัสดิการ ไม่มีความเครียด ไม่เหน็ดเหนื่อย และไม่มีความไม่พอใจ การนำ Bots จะทำให้ พนักงานทุกคนจะได้รับผู้ช่วยในชีวิตการทำงานที่ชาญฉลาดซึ่งให้ความช่วยเหลือได้ตลอดเวลา Chatbot อัจฉริยะสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้

• ให้ภาพรวมของสิ่งที่ต้องทำในระหว่างวันทำงาน
• ส่งใบลาในนามของพนักงาน
• ตอบคำถามเกี่ยวกับงาน
• ตอบคำถามเกี่ยวกับสถานที่ใกล้เคียง
• กำหนดการประชุม
• ทบทวนและสรุปรายการสิ่งที่พนักงานต้องทำและที่ยังทำไม่เสร็จ
• จัดการการตรวจสอบ การปฏิบัติงาน การรับรู้ และ การมีส่วนร่วมของพนักงาน
• รายงานและบันทึกการทำธุรกรรม

อย่างไรก็ตาม AI-powered bots หรือ Bot ที่ขับเคลื่อนด้วย AI จะเติบโตและเปลี่ยนแปลงไปตามที่ users ซึ่งหมายความว่าประสบการณ์ของพนักงานสามารถปรับปรุงได้ก็ต่อเมื่อฺ Bots เรียนรู้วิธีจัดการความต้องการคำขอและคำถามทั่วไปให้ดีที่สุดเท่านั้น

การขับเคลื่อนให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีจากการนำ chatbots ไปใช้งาน


เป็นเรื่องยากที่จะผลักดันการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ซึ่งคุ้นเคยกับวิธีการทำงานที่ยุ่งยาก การโน้มน้าวให้พนักงานใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ทันทีอาจเป็นการต่อสู้ครั้งสำคัญ
Chatbot ด้าน HR ที่ทันสมัยที่สุด เช่น Chatbot “Jinie” ของ PeopleStrong สามารถเข้าถึงได้จากอุปกรณ์มือถือทุกเครื่อง ง่ายพอ ๆ กับการส่งข้อความหาเพื่อนสนิท อย่างไรก็ตาม การโน้มน้าวใจให้พนักงานใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ จะต้องใช้กลยุทธ์ที่วางแผนไว้อย่างรอบคอบ ต่อไปนี้คือ เคล็ดลับที่จะช่วยให้การนำ Chatbot มาใช้ในองค์กรได้รับการยอมรับและให้ผลดีต่อกิจกรรมขององค์กร

เคล็ดลับ # 1: HR ต้องสื่อสารอย่างชัดเจน
“ มีอะไรให้ฉันบ้าง” วิธีที่ดีที่สุดในการโน้มน้าวผู้ใช้ใหม่ให้ใช้เครื่องมือ หรือ เทคโนโลยีใหม่ๆ คือการแสดงให้พวกเขาเห็นว่าชีวิตจะง่ายขึ้นแค่ไหน ซึ่งหมายความว่าคุณต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า Bot มารถทำอะไรได้บ้าง หากจำเป็นคุณยังสามารถกระตุ้นพวกเขาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่นให้รางวัลพนักงานที่ใช้ Chatbot บ่อยที่สุดหรือให้รางวัลแก่คนกลุ่มแรกๆที่เข้ามาใช้งาน

เคล็ดลับ # 2: สร้างบทแนะนำสั้น ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้คุ้นเคย
Bot อัจฉริยะเป็นสิ่งที่ซับซ้อนและการเรียนรู้ที่จะใช้มันก็เหมือนกับการได้เพื่อนใหม่ คุณเคยอยากมีคู่มือเพื่อให้คุณรู้วิธีโต้ตอบกับคนที่คุณพบเป็นครั้งแรกอย่างชัดเจนหรือไม่? มีโอกาสที่พนักงานของคุณจะรู้สึกแบบเดียวกันกับChatbot คุณสามารถช่วยให้พวกเขาอุ่นเครื่องได้โดยการเขียนบทแนะนำสั้น ๆ หรือบันทึกวิดีโอที่สอนวิธีใช้งาน

เคล็ดลับ # 3: สอบถามข้อมูลจากพนักงานของคุณ
ขอให้พนักงานของคุณให้คะแนนประสบการณ์การใช้ Chatbot ของพวกเขาเป็นประจำเพื่อทำความเข้าใจว่าจะปรับปรุงได้อย่างไร คำแนะนำและคำวิจารณ์ของพวกเขาอาจช่วยให้คุณระบุ“ จุดบอด” ที่คุณไม่ได้สังเกตเห็นจากมุมมองของผู้ใช้

เคล็ดลับ # 4: วัดประสิทธิภาพของ chatbot

ข้อดีอีกอย่างของ chatbot ในที่ทำงานคือคุณสามารถปรับแต่งและวิจารณ์ให้ตรงกับเนื้อหาที่คุณต้องการได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะล้นหลาม เพื่อให้ chatbot สามารถบริการพนักงานของคุณได้อย่างแท้จริงในแบบที่พวกเขาต้องการ และควรกำหนด KPI เพื่อประเมินผลการใช้งานของ chatbot ตัวอย่าง KPI ที่ต้องติดตาม ได้แก่ การลดลงของเปอร์เซ็นต์ค่าใช้จ่ายด้านทรัพยากรมนุษย์ , การลดลงของเปอร์เซ็นต์ค่าใช้จ่ายด้านไอที และ จำนวนคำถามที่ตอบในช่วงเวลาที่กำหนด

Chatbots เป็นส่วนหนึ่งของอนาคตสำหรับแผนกทรัพยากรมนุษย์ เน้นย้ำอีกครั้งว่า Chatbot ไม่ได้มีไว้เพื่อแทนที่ทีม HR ของคุณ แต่จะช่วยลดภาระงานของ HR ด้วยการทำกิจกรรมที่มีมูลค่าต่ำที่สุดในบทบาทของ HR และ ช่วยให้ HR มุ่งเน้นไปที่งานทรัพยากรมนุษย์ เชิงกลยุทธ์ได้มากขึ้น

เมื่อคุณไม่แน่ใจว่า การตัดสินใจ เลือก Chatbots มาใช้สำหรับองค์กรของคุณเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่คุณสามารถติดต่อ PeopleStrong ผู้ให้บริการ Chatbots ชั้นนำได้ และ ผู้นำเสนอ HR business solutions ที่ดีที่สุดมากว่า 14 ปี พิสูจน์ได้จาก Jinie ซึ่งเป็น chatbot solution ของเรา และ เป็นChatbots HR ตัวแรกของอินเดีย และคุณสามารถกำหนดเวลาเพื่อเข้านับการสาธิตได้ตลอดเวลาเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติและสิทธิประโยชน์เฉพาะของ Jinie
หากคุณพบว่าบทความนี้มีประโยชน์ และต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือ รับคำปรึกษาเกี่ยวกับการ Strategy Execution, Enhancing Organization Effectiveness, OKRs, Company Culture และ Leadership คุณสามารถ ขอรับคำปรึกษา จากPeoplestrong ประเทศไทย ได้ทุกเมื่อ เพื่อทราบเคล็ดลับในการปรับใช้ระบบการจัดการการเรียนรู้ในองค์กรได้ที่ https://www.peoplestrong.com/th